โรค PCOS

PCOS (ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ) คือ โรคที่มีความผิดปกติของฮอร์โมนที่พบบ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์สามารถเป็นได้ทั้งผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์และผู้หญิงผอม

โรค pcos

ตอนที่ 1 : สาเหตุหลัก

ตอนที่ 2 : อาการที่พบบ่อย

ตอนที่ 3 : ผลกระทบ

ตอนที่ 4 : อันตรายแค่ไหน

ตอนที่ 5 : วิธีรักษา

ตอนที่ 6 : อาหารที่ไม่ควรกิน

ตอนที่ 7 : ค่ารักษาแพงไหม

ตอนที่ 8 : สรุป

สาเหตุหลัก

PCOS เกิดจากอะไร

  • ฮอร์โมนเพศชาย (แอนโดรเจน) สูงผิดปกติ 
  • ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินผิดปกติ (ภาวะดื้อต่ออินซูลิน) 
  • พันธุกรรมอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง

อาการที่พบบ่อย

โรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบโดยอาการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่โดยรวมแล้วมีลักษณะเด่นๆดังต่อไปนี้

ผมร่วง

1.) ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือขาดประจำเดือน

  • ประจำเดือนขาดหาย หรือมาน้อยครั้ง : อาจมีประจำเดือนน้อยกว่า 8 ครั้งต่อปี หรือขาดไปหลายเดือน 
  • ประจำเดือนมาไม่ตรงเวลา : มาบ้าง ไม่มาบ้าง หรือมาช้าเกิน 35 วัน 
  • ประจำเดือนมามากผิดปกติ : หากมีการตกไข่ที่ไม่สม่ำเสมอ เยื่อบุโพรงมดลูกอาจหนาขึ้นและหลุดลอกออกมามากขึ้น

2.) ภาวะมีบุตรยาก

  • ไข่ไม่ตก หรือไข่ตกไม่สม่ำเสมอ ทำให้ตั้งครรภ์ยาก 
  • วงจรการตกไข่ผิดปกติ ทำให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนผิดจังหวะ

3.) สิว ผิวมัน ขนดกผิดปกติ

  • สิวขึ้นเยอะ : สิวเรื้อรังที่ใบหน้า หลัง หรือหน้าอก เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายสูงผิดปกติ
  • ขนดกผิดปกติ : มีขนขึ้นเยอะในบริเวณที่ผู้หญิงมักไม่มี เช่น ใบหน้า คาง หน้าอก หลัง และหน้าท้อง 
  • ผิวมัน : ต่อมไขมันทำงานมากขึ้น ทำให้ผิวหน้ามันและเป็นสิวได้ง่าย

4.) ผมร่วง เยอะเหมือนผู้ชาย

  • ผมบางที่กลางศีรษะหรือด้านหน้า (เหมือนศีรษะล้านในผู้ชาย) 
  • ผมร่วงมากผิดปกติ จนเห็นหนังศีรษะชัดเจน

5.) น้ำหนักขึ้นง่ายและลงพุง

  • น้ำหนักขึ้นง่าย โดยเฉพาะบริเวณรอบเอว 
  • อ้วนลงพุง ไขมันสะสมที่หน้าท้องมากกว่าปกติ 
  • ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี อาจนำไปสู่เบาหวาน

6.) รอยดำคล้ำบนผิว

  • มี รอยดำคล้ำตามคอ, รักแร้ , ข้อพับ เนื่องจากอินซูลินในร่างกายสูงผิดปกติ

ผลกระทบ

โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่กับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมทั้งร่างกายและจิตใจอย่างมาก เพราะความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นในร่างกายของผู้ป่วยทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาได้มากมาย

ทางด้านร่างกาย

ผู้หญิงที่เป็นมักจะมีปัญหาเรื่องประจำเดือนมาไม่ปกติ บางคนประจำเดือนมาน้อย บางคนมามาก หรือบางคนประจำเดือนขาดหายไปเลย ซึ่งปัญหาประจำเดือนนี้เองที่ส่งผลต่อการมีบุตรยาก เพราะว่าการตกไข่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์ลดลงอย่างมาก 

นอกจากนี้ยังทำให้เกิดปัญหาเรื่องขนดกขึ้นตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า หน้าอก และท้องน้อย ซึ่งเกิดจากฮอร์โมนเพศชายในร่างกายที่สูงกว่าปกติอีกด้วย

ทางด้านจิตใจ

ผู้หญิงที่เป็นมักจะมีความวิตกกังวล ซึมเศร้า และมีความรู้สึกไม่มั่นใจในรูปร่างของตัวเอง เนื่องจากปัญหาเรื่องสิว ขนดก และน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น

ทำให้พวกเธอรู้สึกว่าตัวเองไม่สวย และไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และคุณภาพชีวิตโดยรวม

อันตรายแค่ไหน

โรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ ไม่ได้อันตรายถึงชีวิตโดยตรง แต่หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจนำไปสู่ ปัญหาสุขภาพระยะยาวที่ร้ายแรง และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ

ความเสี่ยงระยะสั้น

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ภาวะมีบุตรยาก
  • ปัญหาผิวและรูปร่าง

ความเสี่ยงระยะยาว

  • เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง
  • เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
  • ภาวะซึมเศร้า
  • หยุดหายใจขณะหลับ

วิธีรักษา

สิวเกิดจากโรค

ต้องใช้วิธีการรักษาแบบผสมผสาน เพื่อจัดการกับอาการและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยแพทย์จะพิจารณาจากอาการ ความต้องการ และแผนการมีบุตรของผู้ป่วยเป็นหลัก ซึ่งแนวทางการรักษาหลักๆเช่น..

  1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต (การออกกำลังกาย , การคุมน้ำหนัก)
  2. การใช้ยา
  3. การผ่าตัด

อาหารไม่ควรกิน

  1. อาหารที่มีน้ำตาลสูง : ขนมหวาน , น้ำอัดลม , น้ำผลไม้ , อาหารแปรรูป
  2. จำพวกแป้งขัดสี : ขนมปังขาว , ข้าวขาว , พาสต้า
  3. อาหารที่มีไขมันทรานส์ : ของทอด , อาหารแปรรูป , และเบเกอรี่
  4. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ค่ารักษาแพงไหม

มีลูกยาก

โรงพยาบาลรัฐ

ทุกคนมีสิทธิการรักษาตามระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) หรือประกันสังคม (บางคน) ซึ่งอาจครอบคลุมค่าใช้จ่ายบางส่วน แต่อาจจะต้องรอคิวนานหน่อย 

  • ค่าตรวจวินิจฉัย  : 1,000 – 5,000 บาท (ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลและรายการตรวจ)
  • ค่ายา : ยาขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณยาที่ใช้
  • ค่าผ่าตัด (หากจำเป็น) : 50,000 – 80,000 บาทขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลและวิธีการผ่าตัด)

โรงพยาบาลเอกชน

สามารถสิทธิการรักษาตามระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ไม่ครอบคลุมแต่บริการรวดเร็วและสะดวกสบายกว่าโรงพยาบาลรัฐและไม่ต้องรอคิว

  • ค่าตรวจวินิจฉัย  : 3,000 – 10,000 บาท (ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลและรายการตรวจ)
  • ค่ายา : ยาขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณยาที่ใช้
  • ค่าผ่าตัด (หากจำเป็น) :100,000 – 250,000 บาทขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลและวิธีการผ่าตัด)

สรุป

สำหรับโรคนี้ถือว่าเป็นภาวะที่ไม่อันตรายในทันที แต่หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวและนำไปสู่โรคร้ายแรงได้ โรคนี้เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน ดังนั้นควรได้รับการรักษาและดูแลอย่างเหมาะสม 

แม้จะไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่สามารถควบคุมอาการได้ผ่านการปรับพฤติกรรมต่างๆได้หากคุณมีอาการผิดปกติ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับคำแนะนำที่เหมาะสมครับ

ใครที่เป็นโรคนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆนะครับ แต่ถ้าใครชอบเดิน หวยไว อยากอาจจะเป็นวิธีที่ดีทีจะทำให้คุณสามารถเข้ารักษาที่โรงพยาบาลเอกชลได้